การจัดการความเสี่ยงบนพื้นฐานความยั่งยืนขององค์กรช่วยให้สามารถวิเคราะห์ ปัจจัยต่างๆ ได้เป็นองค์รวมมากยิ่งขึ้น และส่งผลดีต่อการบริหารการเงินขององค์กร นอกจาก นี้การจัดการความเสี่ยงที่เน้นถึงความสำคัญของความยั่งยืนขององค์กรยังช่วยให้ผู้บริหารได้ รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมและความก้าวหน้าให้กับองค์กรนับเป็นการ สร้างชื่อเสียงและสร้างคุณค่าขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกๆ ฝ่ายความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท (AoN, 2007; Fraser & Simkins, 2010) ดังนี้
- ความเสี่ยงทางกลยุทธ์ (Strategic risk) เกิดจากองค์ประกอบด้านต่างๆ ของการดำเนินธุรกิจที่สามารถ ส่งผลกระทบต่อความล้มเหลวในการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลกระทบ ต่อความยั่งยืนและความอยู่รอดขององค์กรได้แก่ การตัดสินใจทางธุรกิจที่ผิดพลาด ความขาด แคลนทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินกลยุทธ์ หรือการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไร้ ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงความล้มเหลวขององค์กรในการตอบสนองต่อความ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจอีกด้วย ในการจัดการความเสี่ยงด้านกลยุทธ์นั้น ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา วิเคราะห์ว่าอะไรเป็นสาเหตุแห่งความผิดพลาด ไปพร้อมๆ กันกับการให้ความสำคัญในการ คาดการถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปด้วยดีอีกด้วย เพื่อให้องค์กรมีความ ยั่งยืนอย่างถาวร
- ความเสี่ยงในการดำเนินงาน (Operational risk) เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเช่น ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติต่างๆ หรือความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ทำให้การดำเนินงานขององค์กรต้องหยุดชะงัก นอกจากนี้การเพิ่ม จำนวนประชากร ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ อาจทำ ให้ทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินงานขององค์กรหมดไปอย่างรวดเร็ว และจะส่งผลกระทบ โดยตรงต่อความเสี่ยงในการดำเนินงาน องค์กรจึงควรมีการกำหนดมาตรการรับมือกับความ เสี่ยงในการดำเนินงานไว้เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้การดำเนินงานขององค์กรต้องหยุดลง หาก องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยใดๆ ก็ตาม จะเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร เป็นตัวกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้ บริการอีกทางหนึ่ง สร้างความภักดีต่อสินค้าและบริการจากลูกค้า ตลอดจนเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันขององค์กรอีกด้วย
- ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ (Economic risk) ที่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดขององค์กร เกิดจากปัจจัย แวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งภายนอกองค์กร (ระดับภาคและระดับจุลภาค) และภายในองค์กร เอง ถึงแม้ว่าปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจจากภายนอก เป็นสิ่งที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้ แต่องค์กรสามารถจัดการความเสี่ยงทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้ โดยการจัดการปัจจัย ภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล ตรงตามความต้องการของตลาด มีระบบการจัดการโดยเฉพาะด้านการเงินที่ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินในการลดต้นทุนการดำเนินงาน การขยายการลงทุนทุกประเภท เช่น การเพิ่มประเภทของสินค้าและการบริการ หรือการเข้า ไปลงทุนในประเทศใหม่ๆ หรือตลาดที่ไม่คุ้นเคย เป็นไปด้วยความระมัดระวัง มีการพิจารณา ปัจจัยทางการเงิน-การลงทุน เช่น การหมุนเวียนของเงินทุนอย่างรอบคอบ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจ ได้ว่าองค์กรสามารถสร้างกำไรได้ในทุกสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจถดถอย
- ความเสี่ยงทางสังคม (Social risk) การดำเนินงานขององค์กรทุกประเภท ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุก ฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ลูกค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ หรือประชาชนใน พื้นที่ที่ องค์กรนั้นๆ ตั้งอยู่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดขององค์กร การจัดการ ความเสี่ยงทางสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กรควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วม ในกิจกรรมหรือการดำเนินงานขององค์กร ร่วมรับผลประโยชน์ และมีส่วนร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจขององค์กร มีระบบการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กรที่โปร่งใส มีธรรมาภิบาล เพื่อให้แน่ใจได้ว่าความคิดเห็น หรือมุมมองทางสังคมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถูกนำมาปฏิบัติให้ เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กรอย่างสูงสุด โดยเฉพาะในด้านการบริหารทรัพยากร มนุษย์ภายในองค์กร อันเป็นการแสดงถึงการให้ความสำคัญกับคุณค่าของความเป็นมนุษย์ใน ทุกระดับ
- ความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม (Environmental risk) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเปลี่ยนแปลง ของภูมิอากาศของโลกในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้ทุกภูมิภาคให้ความสำคัญต่อการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรที่สามารถผลิตสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ตรงกับความต้องการของสังคมอย่าง ต่อเนื่อง รวมถึงนำทรัพยากรที่เหลือใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะช่วยเพิ่ม ความยั่งยืนและความอยู่รอดขององค์กร เนื่องจากได้ปฏิบัติตามกฎมายและข้อบังคับด้านสิ่ง แวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้รับการยอมรับจากสังคม ทำให้องค์กรไม่ถูกบังคับให้ ต้องหยุดการดำเนินงาน