การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี

นวัตกรรม (innovation) มาจากรากศัพท์คำว่า Innovare ในภาษาลาตินซึ่งหมายถึง “To make something new” ในอดีตคำว่านวัตกรรมเป็นที่เข้าใจว่าคือสิ่งใหม่ที่สร้างหรือ ผลิตขึ้นมาและมักกล่าวถึงเฉพาะการสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ แต่ได้มีนักวิจัยหลายท่านได้ให้ คำนิยามเกี่ยวกับคำว่านวัตกรรมที่กว้างขึ้น โดยไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะการสร้างสรรค์เทคโนโลยี ใหม่ขึ้นมาเท่านั้น แต่กล่าวรวมถึงการให้บริการใหม่ แนวทางในการนำเสนอเทคโนโลยีหรือ บริการใหม่และการปรับปรุงกระบวนการการทำงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสินค้า หรือบริการรวมไปถึงกระบวนการใหม่ที่พัฒนานั้นต้องสามารถนำออกสู่ตลาด (commercialization) หรือสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร (Practicality)

กว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมานวัตกรรมได้ถูกกล่าวถึงและได้มีความสำคัญทาง เศรษฐกิจมากขึ้นเป็นลำดับ นวัตกรรมกลายเป็นองค์ประกอบพื้นฐานการแข่งขันของธุรกิจใน ปัจจุบันที่ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกมีการเติบโตและการแข่งขันสูง การที่องค์กรจะแข็งแกร่งและมี ความยั่งยืนอยู่ได้นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำเนินธุรกิจคือการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ การมุ่งมั่นเพิ่มศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ การเพิ่มศักยภาพในกระบวนการ ผลิตรวมทั้งการต่อยอดสร้างธุรกิจใหม่อย่างสม่ำเสมอ

ในปัจจุบันเราเห็นวิวัฒนาการของการพัฒนานวัตกรรมของแต่ละองค์กรที่ครอบคลุม นวัตกรรมทางด้านสินค้า (Product Innovation) กระบวนการผลิต (Process Innovation) และรวมไปถึงนวัตกรรมทางด้านบริการ (Service Innovation) จากการรวบรวมสถิติของ The Boston Consulting Group พบว่าองค์กรต่างๆให้ความสำคัญในด้านการพัฒนานวัตกรรม อย่างต่อเนื่องโดยเปรียบเทียบระหว่างปี 2009 และปี 2010 พบว่าในปี 2010 มี 26% ของ องค์กรทั้งหมดที่ทำการสำรวจได้ให้ความสำคัญในด้านการพัฒนานวัตกรรมเป็นอันดับแรก และอีก 45% ที่ให้ความสำคัญเป็น 1 ใน 3 กลยุทธ์แรกที่ต้องมีการพัฒนา

+ รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับองค์กรในประเทศไทย มักเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ ในการขับเคลื่อนนวัตกรรม เช่น ต้นทุนของการพัฒนานวัตกรรมและ R&D ที่สูง การขาดความสนับสนุนจากผู้บริหาร ความ เสี่ยงด้านอุปสงค์ การขาดบุคลากรที่มีทักษะ ความยากในการแสวงหาแหล่งเงินทุน ปัญหาการ รักษาบุคลากรที่มีความสามารถ การขาดการอบรมบุคลากรภายในหน่วยงานที่เพียงพอ ความไม่ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของพนักงาน ความไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร การขาด การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การขาดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม การขาด แคลนเวลา การสนับสนุนของรัฐบาลที่ไม่เพียงพอ การขาดข้อมูลทางการตลาดและ ด้าน เทคโนโลยีที่ถูกต้องชัดเจน การขาดความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก จึงทำให้องค์กรใน ประเทศไทยโดยส่วนใหญ่ยังไม่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนานวัตกรรมเท่าที่ควร ซึ่งราย ละเอียดของอุปสรรคข้างต้นสามารถพิจารณาจากงานวิจัยของ ณัฐวัฒน์ สุขะศิริวัฒน์ และ ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี (2556)

จากการศึกษาวิจัยองค์กรธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นพบว่า องค์กร เหล่านี้มีแนวทางในการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่โดดเด่น คือมุ่งเน้นสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถรักษาความเป็นผู้นำใน ตลาด และการเติบโตอย่างมั่นคงต่อไป โดยเริ่มจากวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร การกำหนด นโยบายการผลิตสินค้าและการให้บริการ การมองถึงความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อ ตอบสนองรูปแบบชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการลงทุน ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี อาทิ ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเติบโตในระยะยาว

ผู้เชียวชาญ
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี

รองศาสตราจารย์ ดร. วิชิตา รักธรรม
  • รองคณบดี งานบริการวิชาการ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
Contact: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี
  • อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
Contact: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ตัวอย่างองค์กรพอเพียง

ตัวอย่าง องค์กรขนาดเล็ก
คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด
ตัวอย่าง องค์กรขนาดกลาง
คุณสมชาย นิติกาญจนา
กรรมการและผู้ก่อตั้ง
บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์
Copyright © 2017 Sufficiency Economy Business. All Rights Reserved.
Center for Research on Sustainable Leadership
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.