การจัดการทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือกระบวนการและแผนการที่ทำให้ได้บุคลากรมาสู่ องค์กรตลอดจนการสร้างความมุ่งมั่นในการทำงานของบุคลากรและการรักษาบุคลากรเหล่า นั้นไว้กับองค์กร กระบวนการเหล่านี้ประกอบไปด้วยการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยตรง เช่น การสรรหาและการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในองค์กร การมอบหมายงาน การประเมินผลงาน การพัฒนาบุคคล การให้ค่าตอบแทนและรางวัล และกระบวนการบริหารบุคลากรประจำวัน โดยผู้บริหารในสายงาน

จากการศึกษาองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืนที่ผ่านมาของ Avery และ Bergsteiner (เช่น Avery, 2005; Avery & Bergsteiner, 2011) พบว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีนัยสำคัญ ต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร เนื่องจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่แข็งแกร่งจะทำ ให้สมาชิกขององค์กรร่วมกันทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและฝ่าฟันในยามที่เกิดวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อองค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถสร้างจุดได้เปรียบ ในการแข่งขันให้องค์กรได้มากกว่าการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและเงินทุน การบริหารทรัพยากร มนุษย์จึงนับเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับองค์กรทั้งขนาดเล็กและใหญ่ องค์กรจำเป็นต้องมีแนว ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เอาใจใส่พนักงาน สร้างความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันระหว่าง องค์กรและพนักงานเนื่องจากพนักงานมีความมั่นคงในการงาน มีการคัดเลือกพนักงานที่เข้า กับวัฒนธรรมองค์กรได้ มีการพัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูล ปรึกษาหารือกัน การให้ พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การเชื่อมโยงผลตอบแทน การยกย่องเชิดชูผลงานพนักงาน และการบริหารทีมงานที่ดี การบริหารทรัพยากรมนุษย์ช่วยให้แนวคิด พฤติกรรมและทัศนคติ ของสมาชิกในองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์องค์กรมากขึ้น และส่งเสริมให้ พนักงานพร้อมที่จะช่วยเหลือองค์กรทั้งในยามปกติและยามวิกฤต การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กรในภาวะปัจจุบันซึ่งเผชิญกับ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้

+ รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม

หัวใจสำคัญประการหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ การบริหารคนโดยเน้น องค์รวมคือการให้ความสำคัญต่อการพิจารณาเชิงลึกในปัจจัยด้านต่างๆ เช่น ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของพนักงานส่วนใหญ่ประกอบการบริหารด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการทรงงานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องการระเบิดจากข้างในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นอกจากจะพิจารณาเรื่องความรู้และทักษะของ พนักงานแล้ว องค์กรควรพิจารณาจัดการด้านทัศนคติ จิตใจและค่านิยมที่ตรงกับปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งความซื่อสัตย์ จริยธรรม ความเพียร การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เช่น ในกระบวนการคัดเลือกพนักงาน องค์กรควรจะพิจารณาเรื่องค่านิยม การฝึกอบรมก็จะ พิจารณาทั้งด้านองค์รวม ความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่เกี่ยวกับการทำงานและทักษะการ ดำเนินชีวิต การดูแลพนักงานก็พิจาณาภาพรวมทั้งด้านการทำงานและด้านที่เกี่ยวกับชีวิต โดย เน้นการมีส่วนร่วมและการฟังความคิดเห็นของพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีความเต็มใจที่จะทำ งานให้กับองค์กรและช่วยเหลือองค์กรเมื่อเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ต่างๆ

องค์กรธุรกิจไทยยังให้ความสำคัญอย่างเป็นรูปธรรมน้อยต่อการบริหารทรัพยากร มนุษย์ที่เน้นองค์รวม หลายองค์กรบริหารทรัพยากรมนุษย์เพียงแค่ความรู้ และทักษะที่เน้น เรื่องการทำงาน เมื่อพนักงานมีพร้อมทั้งความรู้และทักษะ แต่ขาดความผูกพันและการให้ใจ กับองค์กร พนักงานก็พร้อมที่จะเปลี่ยนที่ทำงานหากได้รับข้อเสนอด้านค่าตอบแทนที่สูงกว่า จากที่อื่น นอกจากนี้ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรไม่ส่งเสริมการบริหารคนโดย เน้นองค์รวม เช่น การคัดเลือกบุคคลากรที่เน้นเรื่องความรู้และทักษะเข้ามาโดยไม่คำนึงถึง ทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมของผู้สมัคร การคัดเลือกผู้บริหารที่เก่งแต่งาน แต่มีทัศนคติ ตรงข้ามกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือการดูแลพนักงานที่บริหารแต่ตัวเงิน โดยขาด ความสนใจที่จะฟังความคิดเห็นพนักงาน ความเป็นธรรม การเอาใจใส่ในชีวิตและศักดิ์ศรีของ พนักงาน ประเด็นพึงพิจารณาเหล่านี้เป็นตัวอย่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งจากระบบและ พฤติกรรมของผู้บริหารที่พบเห็นได้ทั่วไปในภาคธุรกิจของไทย

การบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถพัฒนาขึ้นได้ไม่เว้นแม้แต่องค์กรธุรกิจขนาดเล็ก ผู้บริหารต้องมีความคิดสร้างสรรค์ คิดหาแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะกับ บริบทขององค์กร แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์บางอย่างอาจมีค่าใช้ จ่ายไม่มากแต่ได้ ผลดีคือความผูกพันของพนักงานกับองค์กร พฤติกรรมของผู้บริหารทุกระดับก็มีความสำคัญ มากเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็ก การบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถทำให้ พนักงานมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและร่วมกันเดินไปในแนวทางเดียวกันตามจุดมุ่งหมาย ขององค์กรนั่นเอง

ผู้เชียวชาญ
การจัดการทรัพยากรมนุษย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรเกษม กันตามระ
  • อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้พัฒนา Application "Organization Change"
Contact: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มลฤดี สระฑัน
  • อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
Contact: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ตัวอย่างองค์กรพอเพียง

ตัวอย่าง องค์กรขนาดเล็ก
คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด
ตัวอย่าง องค์กรขนาดกลาง
คุณสมชาย นิติกาญจนา
กรรมการและผู้ก่อตั้ง
บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์
Copyright © 2017 Sufficiency Economy Business. All Rights Reserved.
Center for Research on Sustainable Leadership
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.